วันจันทร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2553

แฉเมล์ลวงเงินช่วยเฮติ

วันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2553 ปีที่ 19 ฉบับที่ 6997 ข่าวสดรายวัน


แฉเมล์ลวงเงินช่วยเฮติ





ไซแมนเทคเผยกลลวงนักต้มตุ๋นไซเบอร์ผ่านทางอีเมล์โดยเชิญชวนให้บริจาคเงินให้แก่ผู้ประสบภัยแผ่นดินไหวที่เฮติ เช่น อีเมล์ที่อ้างสภากาชาดอังกฤษว่าระดมเงินบริจาคช่วยเหลือเหยื่อโศกนาฏกรรม ครั้งนี้ แต่ไม่ได้ใช้ระบบการโอนเงินแบบเวสเทิร์น ยูเนี่ยนในการรับบริจาคและยังใช้อีเมล์แอดเดรสที่ไม่ได้เป็นของสภากาชาดในการติดต่อ ดังนั้นเงินบริจาคจะไม่ถึงมือผู้ประสบภัยแต่จะเข้ากระเป๋าอาชญากรเหล่านี้แทน

ไซแมนเทคเตือนผู้ใช้คอมพิวเตอร์ที่ต้องการบริจาคหรือทำการกุศลผ่านระบบออนไลน์ ว่าให้หลีกเลี่ยงการคลิกลิงก์ที่น่าสงสัยที่ปรากฏอยู่ในอีเมล์หรือข้อความด่วน (Instant Messaging) ซึ่งอาจเป็นการหลอกเพื่อเข้าไปสู่เว็บไซต์ปลอมที่สร้างขึ้นมาโดยเฉพาะ จึงควรพิมพ์อีเมล์แอดเดรสขององค์กรช่วยเหลือผู้ประสบภัยโดยตรง

อีกทั้งไม่ควรกรอกข้อมูลส่วนตัวหากมีการถามมาทางอีเมล์ รวมทั้งข้อมูลทางการเงินหรือรหัสผ่านเพราะองค์กรช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่มีชื่อเสียงจะไม่ถามข้อมูลส่วนบุคคลผ่านทางอีเมล์ หากสงสัยควรติดต่อหน่วยงานดังกล่าวโดยตรง


หน้า 29
http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROMFpXTXdOREkxTURFMU13PT0=&sectionid=TURNeU5nPT0=&day=TWpBeE1DMHdNUzB5TlE9PQ==

ซิป้าเล็งปลดล็อกวิชาคอมพ์ออกจากตำราเรียนพื้นฐาน - ข่าวไทยรัฐออนไลน์

ซิป้าเล็งปลดล็อกวิชาคอมพ์ออกจากตำราเรียนพื้นฐาน - ข่าวไทยรัฐออนไลน์

ซิป้าเล็งปลดล็อกวิชาคอมพ์ออกจากตำราเรียนพื้นฐาน

Pic_60843

รักษา การผอ.ซิป้า เตรียมเสนอหลักสูตรคอมพิวเตอร์ให้เข้าสู่วิชาการแก้ไขปัญหาโดยใช้ คอมพิวเตอร์แทนวิชาการงานอาชีพ ขณะที่ปลัดศธ.ชี้การเรียนที่สำคัญเกิดจากแสวงหามากกว่า...

นาวาตรี วุฒิพงศ์ พงศ์สุวรรณ รักษาการผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ ซิป้า กล่าวว่า ขณะนี้ วิชาคอมพิวเตอร์มีความสำคัญต่อการเรียนของนักเรียน เพราะเป็นจุดเริ่มต้นให้เข้าถึงเทคโนโลยีอันทันสมัย และก่อให้เกิดการใช้ประโยชน์ โดยที่ผ่านมาซิป้าเตรียมเสนอต่อกระทรวงศึกษาธิการ ให้เปลี่ยนหลักสูตรคอมพิวเตอร์เป็นวิชาการการแก้ไขปัญหาโดยใช้คอมพิวเตอร์ จากเดิมที่อยู่ในวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี

นายเฉลียว อยู่สีมารักษ์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวว่า การปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 2 (ปี 2552-2561) มุ่งเน้น 3 ประเด็นหลัก คือ 1.คุณภาพและมาตรฐานการศึกษา และการเรียนรู้ของคนไทย 2.เพิ่มโอกาสการศึกษาและการเรียนรู้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ และ 3.ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนของสังคม ในการบริหารและจัดการศึกษา อย่างไรก็ตาม การเรียน และการเข้าถึงเทคโนโลยี สิ่งสำคัญไม่ได้จำกัดอยู่ที่หลักสูตร แต่เกิดจากการแสวงหาวิชาความรู้ และความสนใจ รวมทั้ง การเอาใจใส่มากกว่า

http://www.thairath.co.th/content/tech/60843